Daily Archives: 23/2013/09

สสว.ยกเครื่องศูนย์ข้อมูลเสริมความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการ SMEsไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

นายชาวันย์ สวัสดิ์-ชูโต รักษาการแทนผอ.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ สสว. เปิดเผยว่า รัฐบาลได้มอบหมายให้ สสว. เป็นศูนย์ข้อมูล SMEs แห่งชาติ ซึ่งเป็นศูนย์กลางข้อมูลข่าวสารทุกด้านของ SMEs ที่ผ่านมา สสว.ได้ดำเนินการจัดทำฐานข้อมูล SMEs รายงานสถานการณ์ของ SMEs จำนวนการจ้างงาน GDP ส่งออก-นำเข้าของ SMEs

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ สสว.ได้พัฒนาศูนย์ข้อมูล SMEs Knowledge Center เพื่อเป็นศูนย์กลางองค์ความรู้ และข้อมูลข่าวสารในด้านต่างๆ ที่ทันสมัย และทันต่อสถานการณ์ ให้กับผู้ประกอบการ SMEs และบุคคลทั่วไปที่สนใจ ได้ศึกษาหาความรู้ และให้ผู้ประกอบการนำไปพัฒนาธุรกิจให้สามารถแข่งขันในตลาดทั้งในประเทศและ ต่างประเทศได้ รวมทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี 2558 ด้วย

นายชา วันย์ กล่าวว่า ศูนย์ข้อมูล SMEs Knowledge Center จะเป็นศูนย์กลางข้อมูลองค์ความรู้ สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นธุรกิจ หรือกลุ่ม Start up ระยะดำเนินธุรกิจในประเทศ หรือ กลุ่ม Growth และระยะการเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ หรือกลุ่ม Internationalization รวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยศูนย์ข้อมูลดังกล่าว จะให้บริการครอบคลุมผู้ประกอบการ SMEs ทั้งระบบ ได้แก่ ภาคการผลิต การค้า และบริการ

ทั้งนี้ การให้บริการภายในศูนย์ข้อมูลประกอบด้วย การให้คำปรึกษาแนะนำธุรกิจในด้านต่างๆ ทั้งด้านการตลาด การเงิน การลงทุน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ กฎหมายธุรกิจการค้า ฯลฯ บทความต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ อาทิ การบันทึกรายการในบัญชี เทคนิคการเข้าถึงแหล่งทุน การเขียนและออกแบบแผนการตลาด การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า เป็นต้น

นอก จากนี้ ยังนำข้อมูลของผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจจากสาขาสิ่งทอและแฟชั่น ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม ธุรกิจเครื่องจักรกล ธุรกิจเฟอร์นิเจอร์และผลิตภัณฑ์จากไม้ และธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นต้นแบบในการดำเนินการไปสู่ความสำเร็จ รวมถึงการจัดอบรมสัมมนาและการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อต่างๆ อาทิ เริ่มต้นธุรกิจออนไลน์สร้างรายได้ 24 ชั่วโมง กู้เงินใครว่า ยากสำหรับผู้ประกอบการ SMEs เป็นต้น

 

แหล่งข่าวจาก posttoday…

เครื่องบดน้ำแข็งทำให้น้ำแข็งใสง่ายขึ้นกว่าในอดีต

ประเทศไทยเราเป็นเมืองร้อน ส่งผลให้การทำกิจการ-การทำอาชีพขายไอศกรีมเครื่องบดน้ำแข็งได้รับการตอบรับดี และมีความเติบโตทางธุรกิจก้าวหน้าอย่างมาก รวมถึงมีความแปลกใหม่ให้ได้ลิ้มลองอยู่เสมอ ธุรกิจไอศกรีมในไทยมีทั้งแบบเดิมๆ รวมไปจนถึงการขยายช่องทางมาจากโรงงาน ไอศกรีมของบริษัทต่างชาติยักษ์ใหญ่ด้วยการขายแฟรนไชส์ไอศกรีม รวมทั้งยังมีไอศกรีมโฮมเมดในรูปแบบ และยี่ห้อต่างๆ และก็มีไอศกรีมที่สร้างสรรค์ขึ้นเองโดยคนไทย ด้วยรสชาติที่ถูกปากคนไทยอย่างเราๆ ประกอบกับยุคนี้ยังมีเครื่องผลิตไอศกรีมจำหน่ายอย่างแพร่หลาย ทำให้การทำไอศกรีมนั้นง่ายขึ้นกว่าในอดีต

แม้มองโดยทั่วไปจะดูเหมือนว่ากิจการไอศกรีมน่าจะถึงจุดอิ่มตัวแล้ว แต่ธุรกิจเครื่องบดน้ำแข็งนี้ยังมีช่องว่าง ยังพอมีทางให้เดินได้อีก ในขณะที่ทอปปิ้งก็ถือเป็นสีสันดึงดูดลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง เพราะมีให้เลือกว่า 18 อย่าง เช่น ถั่วแดงบด ที่ลูกค้านิยมรับประทานคู่กับไอศกรีมรสชาเขียว เยลลี่ คิตแคท และมาร์ชเมลโล่ เป็นต้น แม้ในช่วงนี้สภาพเศรษฐกิจจะชะลอตัว ผู้ประกอบการต่างชะลอขยายธุรกิจ แต่ทางเรากลับมองอีกด้านว่าธุรกิจด้านอาหารการกิน ยังสามารถเติบโตได้ เพราะผู้บริโภคยังต้องกินต้องใช้ โดยพฤติกรรมจะเปลี่ยนไปคือ มีความระมัดระวังในการใช้จ่ายเงินมากขึ้น

ยอมรับว่าการแข่งขันในธุรกิจเครื่องบดน้ำแข็งนี้รุนแรงเหมือนกัน ส่วนมากก็จะทำให้แพงไว้ก่อน ดูหรูไว้ก่อน แต่ที่ร้านเน้นที่รสชาติ คุณ ภาพ และจำหน่ายในราคาสมเหตุสมผล ส่วนการทำตลาดในช่วงแรกจะใช้วิธีออกบูธไปยังพื้นที่ต่างๆเพื่อต้องการทราบการตอบรับของลูกค้าแต่ละพื้นที่ การทำไอศกรีมตระกูลนม อาทิ ไอศกรีมรสวานิลลาจะต้องมีส่วนประกอบ คือ หัวเชื้อวานิลลา 280 กรัม, นมพร่องมันเนยไขมันต่ำ 1 กก. และน้ำอุ่น 2,500 ซีซี โดยจะต้องนำน้ำอุ่นผสมกับหัวเชื้อก่อน ตามด้วยนม แล้วนำลงไปปั่นรวมกัน ซึ่งรอบๆเครื่องปั่นไอศกรีมนั้นจะต้องหล่อด้วยน้ำแข็งโรยเกลือ เพื่อกันไม่ให้น้ำแข็งละลาย ซึ่งใช้เวลาปั่นประมาณ 20 นาที