Daily Archives: 17/2013/06

เครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนนานาชาติเปิดข้อมูลผู้ถือครองบริษัทนอกอาณาเขตในพื้นที่พิเศษ 100,000ชื่อ พบมีคนไทย 600ราย

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เครือข่ายผู้สื่อข่าวสืบสวนนานาชาติ (The International Consortium of Investigative Journalists: ICIJ) ตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกาประกาศเปิดข้อมูลการถือครองบริษัทนอกอาณาเขต (offshore company) ครั้งใหญ่ ผ่านทางเว็บเพจ http://offshoreleaks.icij.org

ข้อมูลดังกล่าวมาจากฐานข้อมูลของบริษัทให้บริการจัดตั้งบริษัทนอกอาณาเขตรายใหญ่สองบริษัท คือบริษัทพอร์ตคูลิส ทรัสต์เน็ต (Portculis TrustNet) ตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ กับบริษัทคอมมอนเวลธ์ ทรัสต์ ลิมิดเต็ท (Commonwealth Trust Limited) ตั้งอยู่ที่เกาะบริติช เวอร์จิ้น

ข้อมูลดังกล่าว ประกอบไปด้วยชื่อผู้ใช้บริการบริษัทนอกอาณาเขต, ทรัสต์ และบัญชีธนาคารแบบปิดลับกว่า 100,000 ชื่อ รวมทั้งรายชื่อผู้เกี่ยวข้องจากทุกประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยบริษัทนอกอาณาเขตเหล่านี้ตั้งอยู่พื้นที่พิเศษต่างๆรวมทั้งหมู่กาะ บริติช เวอร์จิ้น, หมู่เกาะ เคแมน, หมู่เกาะคุก และประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น

ในกรณีของประเทศไทยซึ่งมีบุคคลและบริษัทรวมแล้วว่า 600 รายในฐานข้อมูล ผู้อ่านสามารถค้นรายชื่อทั้งหมดได้ในเว็บเพจ offshoreleaks.icij.org

สำหรับรายชื่อในประเทศไทยที่ปรากฏในเว็บเพจhttp://offshoreleaks.icij.org ครั้งนี้ ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ รวมถึงสมาชิกในตระกูลธุรกิจขนาดใหญ่ของประเทศหลายตระกูล นอกจากนี้ยังมีนักธุรกิจชื่อดังหลายรายมีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการบริษัทที่บริติช เวอร์จิ้น

นาย เจอราด ไรย์ ผู้อำนายการ ICIJ กล่าว ถึงเหตุผลในการเปิดเผยข้อมูลครั้งนี้ว่า เพื่อให้เป็นประโยชน์สาธารณะด้วยการทำให้อุตสาหกรรมที่ดำเนินการอยู่ในเงามืดมาเป็นเวลานานกลายเป็นสิ่งที่สามารถตรวจสอบได้ เขาชี้ว่าการปิดลับ (เกี่ยวกับการดำเนินการของบริษัทนอกอาณาเขต) ได้สร้างบรรยากาศที่เอื้อให้ให้พฤติกรรมการคดโกง, การเลี่ยงภาษี และการฟอกเงิน รวมทั้งการโกงกินในรูปแบบต่างๆแผ่ขยายมากขึ้น การเปิดเผยข้อมูลในครั้งนี้ถือเป็นการทำลายการปิดลับที่ว่านี้ไปเสีย

อย่างไรก็ตาม เอกสารแถลงข่าวของ ICIJ ชี้ว่า การถือครองบริษัทนอกอาณาเขตเป็นสิ่งที่สามารถทำได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายและการเปิดเผยข้อมูลในครั้งนี้ ICIJ ไม่มีเจตนาที่จะกล่าวหาผู้ใดว่ากระทำการอันไม่เหมาะสม ข้อมูลที่นำมาเปิดเผยได้ผ่านการกลั่นกรองอย่างระมัดระวังโดยมีเฉพาะข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ ในขณะเดียวกันไม่มีการระบุรายละเอียดส่วนตัวบางอย่างเช่นข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีธนาคาร, การทำธุรกรรมทางการเงิน, การติดต่อสื่อสารทางอินเตอร์เน็ตและช่องทางอื่น รวมทั้งหมายเลขหนังสือเดินทางและหมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น

การเปิดข้อมูลของ ICIJ ครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการประชุมกลุ่มประเทศ G8 ที่ไอร์แลนด์เหนือในสัปดาห์นี้ ซึ่งมีนายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษเป็นประธาน ได้ระบุวาระเรื่องปัญหาการเลี่ยงภาษีเป็นวาระสำคัญหนึ่งของการประชุม

 

แหล่งข่าวจาก posttoday…

กระบวนการผลิตสินค้าโดยอยู่ในช่วงก่อนนำเข้าวางขายในตลาดแพคเกจจิ้ง

สวัสดีครับ วันนี้จะมาเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องการบรรจุภัณฑ์หรือแพคเกจจิ้งของสินค้า และแน่นอนครับว่าในแต่ละธุรกิจไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ขนาดเล็กจนไปถึงขนาดใหญ่ อย่างน้อย ๆ เรื่องของการบรรจุภัณฑ์ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนที่ต้องได้รับความเอาใจใส่ ก่อนที่จะนำสินค้าวางขายในตลาดเป็นลำดับต่อไป แล้วขั้นตอนในกระบวนการนี้ในเบื้องต้นจะมีหัวข้อหลัก ๆ ในเรื่องอะไรบ้าง จะลองเขียนให้อ่านดูสักสองย่อหน้านะครับ

การบรรจุภัณฑ์ (packaging) หรือที่เราเขียนอ่านกันเป็นภาษาไทยโดยติดปากก็คือเพิ่มกำลังการผลิตแพคเกจจิ้งได้ทันทีที่ลูกค้าต้องการ เป็นกระบวนการหนึ่งของการผลิตสินค้า และอยู่ในช่วงก่อนนำเข้าวางขายในตลาด ขั้นตอนนี้นักการตลาดจะค่อนข้างจะให้รายละเอียดในส่วนนี้เป็นพิเศษเพราะการงานในส่วนนี้เปรียบเสมือนหน้าตาของสินค้า ที่จะทำให้ลูกค้าหรือผู้บริโภคติดตาในภาพลักษณ์ของการที่ได้เห็นสินค้าในช่วงแรก ๆ หลังจากวางขายในตลาด ( First Impression ) การออกแบบในเรื่องนี้จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องปรึกษากับนักดีไซน์ เพื่อสื่อการขาย แบรนด์สินค้า รวมไปถึงรายละเอียดของสินค้าและบริษัท ให้ลูกค้าได้รับรู้และเข้าใจ อีกทั้งต้องทำให้เป็นที่จดจำต่อลูกค้าให้ดียิ่งขึ้นไปอีกด้วย และนี่ก็คือเหตุผลแรก ๆ ของนักการตลาดครับ

แพคเกจจิ้ง ที่ดีควรออกแบบให้เหมาะสมกับสินค้าในแต่ละประเภท อาจจะผสมรูปแบบแปลก ๆ เข้าไป เพื่อสร้างความแปลกใหม่ทางด้านภาพลักษณ์ให้กับตลาดสินค้า ปัจจุบันก็มีหลากหลายบริษัทที่รับออกแบบสื่อและจัดทำบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ และมีขั้นตอนการดำเนินงานในส่วนนี้โดยรวมก็คือ นักการตลาด นักดีไซน์ และผู้ควบคุมการผลิตจะมาคุยกันครับ

ว่าภาพลักษณ์ หรือแบบ บรรจุภัณฑ์แบบใดจะเหมาะกับสินค้าของลูกค้ามากที่สุด เมื่อได้ข้อสรุปก็จะส่งแบบเหล่านี้ให้ฝ่ายผลิตเพื่อทำการผลิตบรรจุภัณฑ์เหล่านี้ออกมาให้ลูกค้า จากนั้นประสานเรื่องค่าใช้จ่ายแล้ว ลูกค้าก็สามารถนำบรรจุภัณฑ์เหล่านี้นำไปทำการแพคเกจจิ้งสินค้าเพื่อทดสอบโดยการนำวางขายในตลาดเป็นลำดับต่อไป